แชร์

8 วิธีลดค่าใช้จ่ายในระบบอัดอากาศ

อัพเดทล่าสุด: 4 ม.ค. 2025
73 ผู้เข้าชม

1.การเลือกใช้เครื่องอัดอากาศที่เหมาะสมกับการใช้งาน

ในการเลือกใช้เครื่องอัดอากาศ ผู้ประกอบการหรือช่างผู้ดำเนินงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในข้อมูลพื้นฐานและทฤษฎีของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม เพื่อประกอบการพิจารณาในการเลือกใช้เครื่องอัดอากาศที่ถูกต้อง เช่น ประเภทของเครื่องอัดอากาศ , หลักการทำงาน , การติดตั้ง หรือการเลือกใช้ขนาดท่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพราะ เครื่องอัดอากาศที่ติดตั้งกับระบบท่อที่มีขนาดเล็กไปจะทำให้เกิดแรงดันตกได้ เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงลักษณะงานที่จะใช้ว่าต้องการใช้แรงดันลมมากน้อยแค่ไหน ต้องการความต่อเนื่องของงานหรือไม่ สามารถทำงานได้ต่อเนื่องหรือไม่ หรือแม้แต่สถานที่ก็เป็นปัจจัยสำคัญ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้เป็นหลัก


2.ตั้งค่าแรงดัน (Pressure) ให้เหมาะสม

ปั๊มลมแต่ละรุ่น แต่ละประเภท มีความสามารถในการผลิตลมที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นแบบที่ผลิตลมได้เร็ว หรือปั๊มลมผลิตลมที่มีแรงดันสูง หากคุณมีปั๊มลมที่มีความสามารถในการผลิตแรงดันระดับมาตรฐาน เช่น ปั๊มลมตัดที่ 7 บาร์ และเริ่มทำงานที่ 5 บาร์ แต่มีความต้องการใช้แรงดันที่มากขึ้นหรือลดลงเป็นบางครั้ง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงค่าแรงดันปั๊มลมที่เพรสเชอร์สวิทช์ ทั้งนี้สิ่งสำคัญก่อนใช้ปั๊มลม ก็คือต้องรู้ว่าอุปกรณ์ลมของเราแต่ละชิ้นต้องการลมเท่าไหร่ เพื่อที่จะตั้งค่าแรงดันลมให้ถูกต้องและเหมาะสม เนื่องจากการปรับแรงดันสูงขึ้น จะส่งผลให้อายุการใช้งานต่างๆ ของปั๊มลม เพราะจะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ของปั๊มลมต้องทำงานหนักมากขึ้นและกินไฟเยอะกว่าที่ควร หรือถ้าหากมีการปรับแรงดันที่สูงเกินไปอาจจะเกิดการระเบิดของถังลมได้ จึงเหมาะสำหรับการปรับใช้เพียงชั่วคราวเท่านั้น หรือในทางกลับกันหากเราตั้งแรงดันต่ำจนเกินไป ก็จะทำให้แรงดันไม่พอสำหรับขับเคลื่อนอุปกรณ์ลม เพราะฉะนั้น การตั้งค่าแรงดันปั๊มลมให้เหมาะสมกับการใช้งานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ


3.เลือกปั๊มลมที่ใช้มอเตอร์ประหยัดพลังงาน

พิจารณาเลือกปั๊มลมแบบ Inverter ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเรื่องของการประหยัดพลังงาน ช่วยควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ ช่วยลดการกินไฟของมอเตอร์ ช่วยให้การทำงานของมอเตอร์เป็นไปอย่างเรียบง่าย โดยในปัจจุบันปั๊มลมระบบ Inverter เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรม ตั้งแต่อุตสาหกรรมขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่


4.เช็คและแก้ไขจุดลมรั่ว

ตรวจสอบและซ่อมแซมการรั่วไหลในระบบ เช่น ท่อ วาล์ว ข้อต่อ หรือซีล หรือใช้เครื่องตรวจจับการรั่วไหลของอากาศเพื่อตรวจหาจุดที่มีปัญหา หรือให้ผู้เชี่ยวชาญจาก AVT เข้าไปตรวจสอบ เนื่องจากถ้ามีลมรั่วไหล จะกลายเป็นต้นทุนที่มองไม่เห็น ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายโดยรวมของโรงงาน


5.ใช้ถังเก็บลม (Air Receiver Tank)

ถังเก็บลม (Air Receiver Tank) ทำหน้าที่เก็บลมอัดเพื่อเตรียมจ่ายลมอัดไปยังอุปกรณ์หรือเครื่องจักรในกระบวนการผลิต อีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญของถังเก็บลมคือการช่วยให้แรงดันลมในระบบคงที่ และป้องกันปัญหาแรงดันตก (Pressure Drop) เวลาที่เครื่องจักรต้องใช้ลมในจำนวนมาก อีกทั้งยังช่วยให้เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) ไม่หยุดทำงานหรือทำงานอัตโนมัติ (Start Stop)บ่อยเกินไปหากมีแรงดันที่ไม่คงที่ และประโยชน์อีกทางของถังเก็บลม คือการช่วยลดความชื้นในลมอัด เมื่อความชื้นนั้นมีการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำจะตกลงสู่ก้นถังและถ่ายออกจากระบบลมอัดโดยมีการใช้ Auto drain เป็นตัวช่วยระบายน้ำออกจากถังลม


6. ติดตั้งเครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) เพื่อช่วยจัดการความชื้นในระบบอัดอากาศและป้องกันน้ำเข้าในระบบ

การติดตั้งเครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) เพื่อช่วยจัดการความชื้นในระบบอัดอากาศและป้องกันน้ำเข้าในระบบลมอัดก่อนเข้าสู่อุปกรณ์เครื่องมือลมหรือเครื่องจักรเพื่อให้ได้ลมที่สะอาดปราศจากความชื้นและนำไปใช้งานต่อได้อย่างสมบูรณ์

 

หลักการทำงานและประโยชน์ของ Air Dryer

โดยปกติลมที่ถูกผลิตจากเครื่องปั๊มลมนั้น จะมีน้ำและความชื้นปะปนมาด้วยเมื่อต้องการนำลมไปใช้งาน เครื่องทำลมแห้งจึงเป็นตัวที่จะช่วยนำน้ำหรือความชื้นให้เกิดการควบแน่นด้วยน้ำยาทำความเย็นหรือเม็ดสารดูดความชื้น แล้วระบายน้ำออกมา ทำให้ได้ลมที่มีความแห้งและบริสุทธิ์ก่อนการนำลมอัดที่ได้ไปใช้งาน และในการเลือกซื้อเครื่องทำลมแห้ง ต้องเลือกให้มีขนาดที่เหมาะสมกับอัตราการผลิตและการใช้ลมของแต่ละโรงงาน ซึ่งต้องมีการคำนวณเช่นดียวกับเครื่องปั๊มลม เพราะถ้าเลือกซื้อมาผิดขนาด จะเกิดผลเสียต่อการใช้ลมและค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน

 
7.เปลี่ยนตัวกรองอากาศ ตามรอบการใช้งาน

รอบการเปลี่ยนไส้กรองเครื่องอัดอากาศมักจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ใช้งาน ปริมาณงาน ประเภทของไส้กรอง และสภาพที่แท้จริงของไส้กรอง ในกรณีที่คุณภาพอากาศดี มักจะแนะนำให้เปลี่ยนทุกๆ 2000 ชั่วโมง และหากสภาพแวดล้อมไม่ดี เช่น เหมืองแร่ โรงงานเซรามิก โรงปั่นฝ้าย ฯลฯ แนะนำให้เปลี่ยน เปลี่ยนทุกๆ 500 ชั่วโมง หรือควรทำการบำรุงรักษาสัปดาห์ละครั้งเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกจากไส้กรอง เพื่อลดการเกิด Pressure Drop


8.ลดการสูญเสียพลังงาน

หลีกเลี่ยงการเดินเครื่องปั๊มลมในช่วงเวลาที่ไม่จำเป็น ปิดเครื่องเมื่อไม่ใช้งาน หรือติดตั้งระบบควบคุมอัตโนมัติ หรือการใช้ระบบเปิด-ปิดวาล์วลมแบบธรรมดา (Manual) ส่วนมากผู้ปฏิบัติงานมักจะลืมปิดวาล์วลมหลังใช้งานเสร็จ ทำให้เครื่องจักรทำงานตลอดเวลา ดังนั้นควรใช้ระบบควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วลมแบบอัตโนมัติ สามารถป้องกันปัญหานี้ได้ดีกว่าและทำให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น

 

สนใจติดต่อสอบถาม :

️โทร. 02-548-3115, 091-8899821, 082-480-1104

Email: info@advancetech1964.co.th

www.advancetech1964.com



แหล่งข้อมูลอ้างอิง :   
https://smartcost.co.th/blog/post/5-ways-to-reduce-expenses.html
https://www.premium.co.th
https://th.huadeair.com/
https://www.stablecompressor.com/

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
Pressure Drop หน้าเครื่องจักร ถังลมช่วยได้
แน่นอนว่าในโรงงานจะมีเครื่องจักรบางตัวที่ต้องการใช้ลมมาก บางครั้งหากระบบท่อลมของเราไม่ได้มีการปรับปรุงเป็นระยะเวลานาน หรือไม่มีการขยายขนาดท่อ mainline piping ให้เหมาะสม จะส่งผลให้เครื่องจักรเหล่านั้น ทำงานไม่ทันตาม Cycle Time หรือหยุดทำงานได้ เนื่องจากลมตก (Pressure Drop)
23 ก.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy